สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ค.อ.บ.)

ค่าเทอม 14,000 บาท/เทอม

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science in Technical Education (Electronic Engineering)
ชื่อย่อ (ไทย) : ค.อ.บ. (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.S. Tech. Ed. (Electronic Engineering)

จุดเด่นของสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
           ศึกษาวิชาชีพครูและวิชาชีพทางวิศวกรรม ด้านอิเล็กทรอนิกส์ วงจรควบคุมระบบอัตโนมัติ เซ็นเซอร์อัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ (Al) ระบบสมองกล ระบบโครงข่ายข้อมูลความเร็วสูง และโทรคมนาคม (ICT) รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าที่ทันสมัย ระบบควบคุมมอเตอร์ที่ทันสมัยตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อเป็น Smart City/ Smart Devices & SOT/ IOT/Smart Automation & Industry 4.0

คุณสมบัติผู้ที่จะศึกษาต่อ
          1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
          2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่า โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่าด้วยการเทียบโอนผลการเรียน พ.ศ. 2562

          3) มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550 และฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. 2556 ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือคณะกรรมการบริหารคณะ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จกำรศึกษา
          - ครูผู้สอนวิชาชีพด้านช่างอุตสาหกรรม สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ ช่างโทรคมนาคม ช่างเมคคาทรอนิกส์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในสถานศึกษา
          - วิทยากร/ผู้ฝึกอบรมวิชาชีพสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในสถานประกอบการ
          - ผู้ควบคุมดูแลการติดตั้งและการบำรุงรักษาทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          - นักเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          - ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ หรืออุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรืออาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          - อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์กำรเรียนรู้ที่คำดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
          PLO1 : ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีบุคลิกภาพที่ดี
          PLO2 : มีภาวะผู้นำ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสืบค้นข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          PLO3 : ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางภาษาในการสื่อสารที่รองรับกับการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพได้
          PLO4 : ออกแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมได้
          PLO5 : ออกแบบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การวิจัยสู่นวัตกรรมการศึกษา และจัดการประกันคุณภาพการศึกษาได้
          PLO6 : ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา และนักฝึกอบรมในสถานประกอบการที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้
          PLO7 : ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้
          PLO8 : พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามความต้องการของสังคม
          PLO9 : วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการงานด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้
          PLO10 : บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาโครงการทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการศึกษาได้

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
          134 หน่วยกิต (หลักสูตรสี่ปี)

โครงสร้างหลักสูตร
          1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                            24         หน่วยกิต
              1.1 กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก            6           หน่วยกิต
              1.2 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและการเสริมสร้างนวัตกรรม          9           หน่วยกิต
              1.3 กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร                                         6           หน่วยกิต
              1.4 กลุ่มวิชาส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ                      3           หน่วยกิต
          2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                 104          หน่วยกิต
              2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                 39          หน่วยกิต
                    2.1.1 รายวิชาชีพครู                                                         25          หน่วยกิต
                    2.1.2 รายวิชาชีพพื้นฐาน                                                14           หน่วยกิต
              2.2 กลุ่มวิชาบังคับ                                                               34           หน่วยกิต
              2.3 กลุ่มวิชาเลือก                                                                 15           หน่วยกิต
              2.4 กลุ่มวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพ                 16           หน่วยกิต
                    2.4.1 รายวิชาฝึกปฏิบัติงานในสถานศึกษา                     3           หน่วยกิต
                    2.4.2 รายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                          13           หน่วยกิต
          3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
              *หมายเหตุ* รายวิชาทฤษฎี       40       หน่วยกิต
                                    รายวิชาปฏิบัติ       47        หน่วยกิต