สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (วศ.บ.)

ค่าเทอม 16,000 บาท/เทอม

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Mechatronics Engineering)
ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Eng. (Mechatronics Engineering)

เว็บไซต์ของสาขา
          >>คลิก<<

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
          142 หน่วยกิต (หลักสูตรสี่ปี)

จุดเด่นของสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
        เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบกลไก ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุม ฯลฯ เพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระบบอัฉริยะ ฯลฯ ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านระบบเมคคาทรอนิกส์, ระบบเครื่องกล, ระบบควบคุมอัตโนมัติ, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, ระบบอัฉริยะ ฯลฯ

คุณสมบัติผู้ที่จะศึกษาต่อ
          รับผู้กำลังศึกษา/สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ที่เรียนรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิจ และวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75 หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร ปวช./ปวส ในสาขาวิชาเมคคาทรินิกส์, ช่างไฟฟ้า, ช่างอิเล็กทรอนิกส์, คอมพิวเตอร์, เครื่องกล, ช่างยนต์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จกำรศึกษา
          - วิศวกรควบคุม ออกแบบ ติดตั้งและซ่อมบำรุงหุ่นยนต์
          - วิศวกรออกแบบหรือบริหารควบคุมการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติ
          - วิศวกรระบบในโรงงานอุตสาหกรรม
          - วิศวกรฝ่ายซ่อมบำรุงระบบอัตโนมัติ
          - ผู้ประกอบการด้านบูรณาการระบบการผลิต (System Integration: SI)

ผลลัพธ์กำรเรียนรู้ที่คำดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
          PLO1 : ปลูกฝังบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเฉพาะมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นพลเมืองที่ดีต่อสังคม
              Sub PLO1.1 : มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต
              Sub PLO1.2 : ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเฉพาะมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม
              Sub PLO1.3 : มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นพลเมืองที่ดีต่อสังคม
          PLO2 : สามารถนำความรู้และทักษะทางด้านเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีไปปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติ (การออกแบบทางกล/ทางไฟฟ้า/การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมเครื่องจักร/การเลือกและติดตั้งอุปกรณ์ทางกล และไฟฟ้า/ การออกแบบ ติดตั้งระบบอัตโนมัติและการติดตั้งหุ่นยนต์) ตลอดจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
              Sub PLO2.1 : มีความรู้และความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี องค์ความรู้ในศาสตร์ที่ให้เรียนรู้และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องทางด้านเมคคาทรอนิกส์
              Sub PLO2.2 : มีทักษะในการใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์มาใช้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
              Sub PLO2.3 : สามารถประสานงาน โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์แบบจำลองสารสนเทศ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
              Sub PLO2.4 : สามารถประสานงาน โดยใช้ความรู้ทางด้านเมคคาทรอนิกส์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพ
          PLO3 : สามารถพัฒนาปรับปรุงความรู้และน าไปประยุกต์ในด้านเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยี รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่มีในการแก้ไขปัญหา และสามารถเรียนรู้ศาสตร์เมคคาทรอนิกส์สมัยใหม่ได้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศให้มีความก้าวหน้าด้านระบบอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม
            Sub PLO3.1 : สามารถพัฒนาปรับปรุงความรู้และนำไปประยุกต์ในด้านเมคคาทรอนิกส์
            Sub PLO3.2 : สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่มีในการแก้ไขปัญหาได้
            Sub PLO3.3 : สามารถเรียนรู้ศาสตร์เมคคาทรอนิกส์สมัยใหม่ได้ด้วยตัวเอง
          PLOs4 : มีความสามารถในการสื่อสารและทำงานเป็นทีมในการปฏิบัติหน้าที่ประสานงานร่วมกับทุกฝ่ายในโรงงาน มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบงานเดี่ยวและงานกลุ่มตลอดจนมีทักษะในการเรียนรู้พัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
            Sub PLO4.1 : ทักษะการสื่อสารและท างานเป็นทีมในการปฏิบัติหน้าที่ประสานงานร่วมกับทุกฝ่าย
            Sub PLO4.2 : มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
            Sub PLO4.3 : ทักษะในการเรียนรู้พัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
          PLO5 : สามารถนำความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ สามารถสื่อสารรวมถึงการนำเสนอด้วยภาษาไทยหรือต่างประเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ