• SDGs
  • กสศ.
  • ศิษย์เก่า
  • นักศึกษา
  • บุคลากร
  • ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อรอบปกติ
  • สมัครเรียนรอบโควตาคณะ
  • ENG
Logo-Teched-Retina2Logo-Teched-Retina2Logo-Teched-Retina2Logo-Teched-Retina2
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับคณะ
    • ประวัติความเป็นมาคณะ
    • นโยบายและวิสัยทัศน์
    • โครงสร้างของการบริหาร
    • คณะผู้บริหาร
      • ทำเนียบคณบดี
      • ทำเนียบผู้บริหาร
      • คณะกรรมการประจำคณะ
    • คณาจารย์และบุคลากร
      • ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
      • ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
      • ภาควิชาการศึกษา
      • สำนักงานคณบดี
    • ลงนามความร่วมมือ (MOU/MOA)
    • คุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
      • ITA 2566
    • ประกันคุณภาพ/ความเสี่ยง/KM
      • KM
  • หลักสูตร
    • ปริญญาตรี
    • ปริญญาโท
    • ปริญญาเอก
    • ป.บัณฑิต
    • การรับรองหลักสูตร
      • การรับรองหลักสูตร ก.ค.ศ. (ปี 38-43)
      • การรับรองหลักสูตร ก.ค.ศ. (ปี 48-ปัจจุบัน)
      • การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร (คุรุสภา)
      • การรับรองคุณวุฒิ (สำนักงาน ก.พ.)
  • ประชาสัมพันธ์
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • รับสมัครเรียน
    • รับสมัครงาน
    • กสศ.
    • ประกวดราคาและงานพัสดุ
  • MIS
    • MIS สำหรับบุคลากร
    • MIS สำหรับนักศึกษา
    • MIS สำหรับศิษย์เก่า
  • Electronic files
    • เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน
      • เอกสารคำสอน
    • ตำรา/หนังสือ
    • E-book
      • แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ
      • รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน
      • รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
  • ดาวน์โหลด
  • ติดต่อ
✕
Published by ณัฐภณ หรรษกรคณโชค on 03/08/2018
มทร.ธัญบุรี ร่วม รพ.พระมงกุฎเกล้า พัฒนาชุดยกระบบไฮโดรลิกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถยนต์ รองรับผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็น เดินทางได้ง่ายขึ้น เผยระบบติดตั้งง่าย กลไกไม่ซับซ้อน ค่าบำรุงรักษาต่ำ นุ่มนวล แม่นยำ

ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรมหัวหน้าสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้พิการจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่ปลายทางตามต้องการนั้นมีความลำบาก ผู้ป่วยหลายรายอาจต้องอาศัยผู้ดูแลอย่างน้อย 1-2 คนขึ้นไป ในการพยุง เคลื่อนย้าย รวมถึงยกผู้ป่วยขึ้นและลงจากรถยนต์ ซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย หรือได้รับการบาดเจ็บเพิ่มเติม และหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสัมผัส หรือการกระแทกกับรถยนต์ จึงจุดประกายให้เกิดการผนึกกำลังร่วมกันคิดค้นและพัฒนาชุดระบบไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถยนต์ “PMK Hydraulic Car Lift” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างตน รศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี และ พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ กล่าวว่า การพัฒนาชุดยกระบบไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถยนต์นี้ นอกจากเหมาะกับผู้ป่วยหรือผู้พิการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องใช้รถเข็นแล้ว ยังสอดรับกับครอบครัวที่มีบุคคลในกลุ่มผู้สูงวัย ที่ต้องการไปเที่ยว พักผ่อน หรือพบแพทย์ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย รวมถึงมีความปลอดภัย และไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ดูแลหลายคน ชุดยกระบบไฮดรอลิกออกแบบมาให้ใช้งานกับรถยนต์จำพวกรถแวน เนื่องจากขนาดรถมีความเหมาะสม กว้างพอที่จะรองรับการใช้งานของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งระบบนี้สามารถติดตั้งเพื่อการใช้งานได้ง่าย กลไกหรือเทคนิคไม่ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ มีความนุ่มนวลแม่นยำและออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยรถเข็นโดยเฉพาะ

ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ กล่าวว่า PMK Hydraulic Car Lift หรือชุดยกระบบไฮดรอลิกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถยนต์ใช้ระบบไฮดรอลิกส์ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้สูงถึง 250 กิโลกรัม ประกอบด้วย ปั๊มไฮดรอลิก ลูกสูบไฮดรอลิก ชุดอุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นรถยนต์ เพียงแค่ทำการกดปุ่มให้เคลื่อนที่ลง ชุดระบบกลไกจะเคลื่อนที่ลงมาเสมอกับพื้นในแนวราบ จากนั้นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเข็นรถเข็นไปยังจุดเคลื่อนที่บริเวณตะแกรงเหล็กหลังจากนั้นกดปุ่มให้เคลื่อนที่ขึ้น อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะเคลื่อนที่ขึ้นและอยู่ในแนวราบเสมอกับท้ายรถยนต์ ผู้ป่วยก็สามารถเข็นรถเข็นไฟฟ้าเข้าไปในตัวรถยนต์ได้เอง ขั้นตอนสุดท้ายของระบบ อุปกรณ์ทั้งหมดจะถูกเก็บในท้ายรถยนต์ และถ้าต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากรถยนต์ ก็จะทำในลักษณะเดียวกันทำให้สะดวกและรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถยนต์นั่นเอง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการใช้งานให้สะดวกและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่มากยิ่งขึ้น นับว่า เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะมาเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหรือผู้พิการให้มีความสะดวกสบาย และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างราบรื่น




  • ขอบคุณข้อมูล https://mgronline.com/qol/detail/9610000076621
Share
0
ณัฐภณ หรรษกรคณโชค
ณัฐภณ หรรษกรคณโชค

Related posts

23/05/2025

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี เดินหน้าความร่วมมือระดับนานาชาติ! จับมือ National Pingtung University (NPTU) ไต้หวัน เปิดประตูสู่โอกาสทางการศึกษาและการวิจัย


Read more
23/05/2025

ผศ.ดร.สุกัญญา แสงเดือน คว้ารางวัล RMUTT-PSF ระดับ 3! อาจารย์ต้นแบบด้านการเรียนการสอนมืออาชีพ


Read more
23/05/2025

คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี ผศ.อานนท์ นิยมผล ได้รับ RMUTT-PSF ระดับ 4″


Read more

Comments are closed.

ที่อยู่

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Faculty of Technical Education RMUTT  
39 ม.1 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

พัฒนาโดย

งานประชาสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ช่องทางการติดต่อและติดตาม

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
Teched RMUTT
FRmutt
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี
teched_pr@rmutt.ac.th
02-5494700 งานประชาสัมพันธ์

Latest posts

  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี เดินหน้าความร่วมมือระดับนานาชาติ! จับมือ National Pingtung University (NPTU) ไต้หวัน เปิดประตูสู่โอกาสทางการศึกษาและการวิจัย
    23/05/2025
  • ผศ.ดร.สุกัญญา แสงเดือน คว้ารางวัล RMUTT-PSF ระดับ 3! อาจารย์ต้นแบบด้านการเรียนการสอนมืออาชีพ
    23/05/2025
  • คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี ผศ.อานนท์ นิยมผล ได้รับ RMUTT-PSF ระดับ 4″
    23/05/2025
© 2022 Faculty of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • SDGs
  • กสศ.
  • ศิษย์เก่า
  • นักศึกษา
  • บุคลากร
  • ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อรอบปกติ
  • สมัครเรียนรอบโควตาคณะ
  • ENG