สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ค.อ.บ.)

ค่าเทอม 14,000 บาท/เทอม

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science in Technical Education (Computer Engineering)
ชื่อย่อ (ไทย) : ค.อ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.S. Tech. Ed. (Computer Engineering)

จุดเด่นของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
          ศึกษาวิชาชีพครูและวิชาชีพทางวิศวกรรม ด้านโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ซ่อม ประกอบ ติดตั้งคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์

คุณสมบัติผู้ที่จะศึกษาต่อ
          1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ข่างอุตสาหกรรมทุกสาขา
          2) กรณีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนดข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร หรือ กรรมการบริหารคณะ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จกำรศึกษา
          - ครูผู้สอนวิชาชีพด้านช่างอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษา
          - วิทยากร หรือผู้ฝึกอบรมวิชาชีพสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในสถานประกอบการ
          - หัวหน้างาน ผู้ควบคุมดูแล ในสายงานคอมพิวเตอร์ ซ่อมบำรุง หรืองานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในสถานประกอบการ
          - ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
          - นักวิเคราะห์ และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
          - ผู้ประกอบการ หรือประกอบอาชีพอิสระ
          - อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์กำรเรียนรู้ที่คำดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
          PLO1 : ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีบุคลิกภาพที่ดี
          PLO2 : มีภาวะผู้นำ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสืบค้นข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
          PLO3 : ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางภาษาในการสื่อสารที่รองรับกับการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพได้
          PLO4 : ออกแบบการจัดการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมได้
          PLO5 : ออกแบบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การวิจัยสู่นวัตกรรมการศึกษา และจัดการประกันคุณภาพการศึกษาได้
          PLO6 : ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา หรือนักฝึกอบรมในสถานประกอบการที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้
          PLO7 : สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเครื่องมือพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสามารถเรียนรู้การใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้
          PLO8 : พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตามความต้องการของสังคม
          PLO9 : วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหา และบริหารจัดการงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้
          PLO10 : บูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในการพัฒนาโครงการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการศึกษาได้

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
          137 หน่วยกิต (หลักสูตรสี่ปี)

โครงสร้างหลักสูตร
          1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                       24        หน่วยกิต
              1.1 กลุ่มวิชาความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก        6        หน่วยกิต
              1.2 กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและการเสริมสร้างนวัตกรรม       9       หน่วยกิต
              1.3 กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร                                      6       หน่วยกิต
              1.4 กลุ่มวิชาส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ                   3        หน่วยกิต
          2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                              107       หน่วยกิต
              2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                             36        หน่วยกิต
                    2.1.1 รายวิชาชีพครู                                                     25        หน่วยกิต
                    2.1.2 รายวิชาชีพพื้นฐาน                                             11         หน่วยกิต
              2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ                                                      40       หน่วยกิต
              2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก                                                        15       หน่วยกิต
              2.4 กลุ่มวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาชีพ              16       หน่วยกิต
                    2.4.1 รายวิชาฝึกปฏิบัติงานในสถานศึกษา                  3       หน่วยกิต
                    2.4.2 รายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                       13       หน่วยกิต
          3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                            6        หน่วยกิต
              *หมายเหตุ* รายวิชาทฤษฎี        46       หน่วยกิต
                                     รายวิชาปฏิบัติ       37       หน่วยกิต